การเรียนรู้วันนี้
อาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในเด็กปฐมวัย
รูปแบบที่ 1 Project Approach
Project Approach (การสอนแบบโครงการ)
เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ
ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ
ๆ ตัวเด็ก และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ
โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง
การสอน
3 ระยะของ Project Approach
การเรียนรู้แบบ
Project
Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ
คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ
เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ
จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณครูจะใช้คำถามถาม
เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม
และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง
เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ
และแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน
ๆ ในห้องต่อไป
ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ
ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ
ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้
โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย
พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก
เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง
เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น
และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น
บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์ การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร
โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน
ซึ่งหัวข้อของ Mind Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า
จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการด้วยค่ะ
ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ
เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ
โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น
เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง
โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ
พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ
ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ
ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ
เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ
ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป
รูปแบบที่ 2 มอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น จากการสังเกตเด็ก จึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียน ที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน
หลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 3
ถึง 6 ขวบ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่
1. การศึกษาทางด้านทักษะกลไก (Motor Education)
2. การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses)
3.การตระเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์
(Preparation for Writing and Arithmetic)
วิธีการจัดการเรียนการสอน
เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ
ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้
โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
การเตรียม
= ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ
= ขั้นนำ
เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน
ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป
ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์
รูปแบบที่ 3 วอลดอร์ฟ (Waldorf Method)
หลักการสอน
หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ คือ
การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์ 3 ประการ
ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง
วิธีจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ
เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน
สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น
ๆ ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ
รูปแบบที่ 4 ไฮสโคป
(High/Scope)
แนวคิดสำคัญ
แนวการสอนแบบไฮ/สโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย
ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
การเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป
เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์
หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง
โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม
โดยใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ
คือ
-
การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร
การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก
เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
-
การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้
เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง
เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง
-
การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์
ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่
มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร
และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ และผลงานที่ทำ
รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ
การที่เด็กได้ลงมือทำงามหรือกิจกรรมด้วยความสนใจ
จะทำให้เด็กสนุกกับการทกงาน การทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข
วิเคราะห์การสังเกตการณ์การสอน
ทั้งหมด 7 โรงเรียน ดังนี้
1.โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม
ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ
2.โรงเรียนวัดนวลจันทร์
3.โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4.โรงเรียนเกษมพิทยา
5.โรงเรียนพญาไท
6.โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย
(กระจ่าง สิงหเสนี)
7.โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
สรุปผลการวิเคราะห์การสังเกตการณ์การสอน
ทางโรงเรียนบางโรงเรียนจัดกิจกรรมบางกิจกรรมที่ยังไม่ครอบคลุมพัฒนาการของเด็ก
และไม่ตรงตามเป้าหมายที่เด็กควรเรียนรู้เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่างๆ บางโรงเรียนมีการกิจกรรมตอนเช้าอย่างครอบคลุมด้วยการจัดกิจกรรมการเล่าข่าว
หรือเล่าประสบการณ์ของตนเองได้เจอมาในช่วงวันหยุด มีการนำนิทานมาเล่า
มีการพูดคุยระหว่าง ผู้เรียน ผู้สอน กลุ่มเพื่อน
และมีการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่วมกัน
กิจกรรมกลุ่ม
แผนผังความรู้เรื่อง แผนการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวและจังหวะ
ความรู้เพิ่มเติม💙💙💙
เพลงยืน 🎵🎵 : มือกุมกัน แล้วก็ยืนตรงๆ(ซ้ำ)
ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนตรง
เพลงนั่ง 🎵🎵 : นั่งขัดสมาธิให้ดี สองมือวางทับกันทันที หลับตาตั้งตัวตรงซิ
ตั้งสติให้ดี ภาวนาในใจ พุธโธ พุธโธ พุธโธ
ภาระงานประจำสัปดาห์
1.จับกลุ่ม 5 คน
2สร้างเนื้อหาโดยหาแผนการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวและจังหวะ
3.แบ่งหน้าที่การรับผิดชอบตามวัน
วันละ1คนในการรับผิดชอบในการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวและจังหวะ
4.เขียนแผนการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวและจังหวะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น